Rookon Powered by Yow Logo
    • ค้นหาแบบละเอียด
  • แขก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลงทะเบียน
    • โหมดกลางคืน
Suphachai Kwansuwan Cover Image
User Image
ลากเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งปก
Suphachai Kwansuwan Profile Picture
Suphachai Kwansuwan
  • ไทม์ไลน์
  • กลุ่ม
  • ถูกใจ
  • กำลังติดตาม
  • ผู้ติดตาม
  • ภาพถ่าย
  • วิดีโอ
Suphachai Kwansuwan profile picture
Suphachai Kwansuwan
51 สัปดาห์

#วัคซีน #ฉีดเด็ก #โควิด19

ยาฉีดไฟเซอร์ที่เอามาฉีดให้เด็กอายุ 5-11 ปียังอยู่ระหว่างการทดลองไม่สามารถกันการติดเชื้อได้ไม่มีข้อมูลว่ากัน MIS-C ได้


จากที่มีการระดมออกมา ชักชวนให้เด็กอายุ ๕-๑๑ ปี ต้องเข้ารับการฉีดยานั้น ผู้ที่ออกมาสนับสนุนมาตรการดังกล่าว อ้างว่ายาฉีดเหล่านั้นจะสามารถป้องกันมิให้เด็กติดเชื้อ ป้องกันมิให้เด็กมีอาการป่วยรุนแรง ป้องกัน MIS-C ได้ โดยมิได้ศึกษางานวิจัยที่ทางบริษัทไฟเซอร์ทำเพื่อขอการรับรองจาก FDA ให้ละเอียดบทความนี้จึงต้องการให้ข้อมูลกับผู้ปกครองว่า ยาที่ฉีดนั้น ๑.อยู่ระหว่างการทดลอง ๒.ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ๓.ไม่สามารถป้องกันการป่วยหนัก ไม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ ๔.ไม่สามารถป้องกัน MIS-C ได้ โดยมีข้อมูลอ้างอิงเป็นงานวิจัยของไฟเซอร์และข้อมูลจาก FDA เอง

๑.ยานี้ยังอยู่ระหว่างการทดลอง

จากเว็บไซด์ของ FDA เอง ดังที่ปรากฏในรูปด้านล่าง เขาเขียนชัดเจนว่า งานวิจัยเพื่อศึกษาความปลอดภัยนี้ทำในเด็ก 3,100 ราย ซึ่งไม่เป็นความจริงเพราะในการทดลองจริงๆนั้นศึกษาในเด็กเพียง 1,517 รายตามรายละเอียดในรายงานการวิจัยของไฟเซอร์เอง ตรงไปตรงมาการศึกษาความปลอดภัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อยแค่นี้ย่อมไม่สามารถศึกษาผลกระทบรุนแรงที่เกิดขึ้นยากได้ แต่ที่สำคัญมิใช่ที่จำนวนเท่านั้นครับเขาระบุชัดเจนว่า “in the ongoing study” แปลว่า ยังอยู่ระหว่างการวิจัย

1 ขอให้ไปอ่านในบทความ “ยาฉีดไฟเซอร์ โมเดิร์นนา ไม่ใช่วัคซีน” ถึงเหตุผลที่เราไม่ควรเรียกยาเหล่านี้ว่า วัคซีน

2 https://www.fda.gov/news-event....s/press-announcement

3 https://www.nejm.org/doi/full/....10.1056/NEJMoa211629


รูปที่1

และถ้าเข้าไปอ่านในรายงานการวิจัยจะพบว่า งานวิจัยนี้ ลงทะเบียนไว้ในรหัสงานวิจัย NCT04816643 ตามรูปที่ 2


รูปที่ 2รหัสโครงการวิจัยที่ใช้อ้างอิง

และถ้าเราคลิกเข้าไปอ่านในเว็บไซด์นั้นจะได้ข้อมูลตามรูปที่ 3 ครับ ระบุชัดว่า เป็นงานวิจัยที่สนับสนุนโดย ไบโอเอนเทค BioNTech ร่วมมือกับ ไฟเซอร์ Pfizer หน่วยงานที่ให้ข้อมูลก็คือ บริษัทที่ผลิตยานี้ BioNTech SE เอง


รูปที่ 3บริษัทที่ทำงานวิจัยนี้

4 https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04816643

ทีนี้ขอให้ดูตรง study details รายละเอียดการวิจัยตามรูปที่ 4 จะเห็นชัดเจนว่า งานวิจัยนี้จะสิ้นสุดวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2026 (พ.ศ.2569) ใช่ครับ อีกตั้ง 4 ปี ตอนนี้ “อยู่ระหว่างการวิจัย” เขาต้องการกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 11,422 ราย แต่ตอนนี้มีแค่ สองพันกว่าราย และตอนนี้กำลังรับสมัครอาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัยเพิ่ม ดูตรง recruitment status “Recruiting” และพึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ไม่ถึงปีเลย

ที่น่าสนใจงานวิจัยนี้เป็นแบบ open label ซึ่งมี bias มากคนทำวิจัยรู้ว่าอาสาสมัครคนไหนได้รับ หรือ ไม่ได้รับยาทดลอง ปกติงานวิจัยที่ดีต้องเป็นแบบปิด double blind placebo control ทั้งผู้วิจัยและอาสาสมัครไม่รู้ว่าใครได้วัคซีน ใครได้ยาหลอก จนกว่างานวิจัยจะเสร็จสิ้น


รูปที่ 4 รายละเอียดของงานวิจัย

แค่นี้น่าจะพอใช่ไหมครับที่บอกว่า เอาเด็กมาทดลอง แต่ลองดูต่อครับถ้าเข้าไปที่ result ตามรูปที่ 5 ผลการวิจัย จะเห็นชัดเจนว่า วิจัยนี้จะสิ้นสุดเดือน พฤษภาคม 2569 แต่ถ้าดูที่เอกสารวิชาการที่ตีพิมพ์ จะเห็นชักเจนว่า คือ เอกสารวิชาการที่บริษัทใช้ไปขอการรับรองจาก FDA ทั้งที่งานวิจัยยังไม่เสร็จ


รูปที่ 5 ผลการวิจัย

แค่หัวข้อแรกก็ชัดเจนครับว่า ยาที่เอามาฉีดเด็กๆนั้น ยังอยู่ระหว่างการทดลอง แต่ไปดูหัวข้อที่สองต่อครับ ยาฉีดที่ว่าไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อโควิด

๒.ยาฉีดไฟเซอร์ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้ออย่างที่เอามาโฆษณากัน

ถ้าดูในข่าวที่ออกโดย FDA จะเห็นว่าในนั้นอ้างว่า ยาตัวนี้มีประสิทธิภาพ 90.7% แต่ถ้าหากว่าเข้าไปอ่านงานวิจัยที่ใช้อ้างอิงจะพบว่า ในงานวิจัยนั้นมิได้สุ่มตรวจหาเชื้อในอาสาสมัครทุกรายอย่างเป็นระบบแต่ใช้วิธีว่า รอให้อาสาสมัครมีอาการค่อยทำการตรวจหาเชื้อแปลว่า ถ้าหากอาสาสมัครมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการก็จะไม่มีทางรู้ได้ว่าเขาเหล่านั้นติดเชื้อหรือไม่ ทั้งนี้สิ่งที่ควรจะทำในงานวิจัยเพื่อบอกว่า ยานี้ป้องกันการติดเชื้อหรือไม่นั้น คือ การตรวจหาเชื้อในอาสาสมัคร ทุกรายเป็นประจำทุกสัปดาห์ ไม่ว่าอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ตาม รายละเอียดที่ทีมวิจัยทำสามารถอ่านได้ในเอกสาร supplement

5 https://www.nejm.org/doi/suppl..../10.1056/NEJMoa21162


รูปที่ 6 คำอ้างของ FDA ว่ายาฉีดมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด–๑๙

เมื่อดูที่มาของคำอ้างจะพบข้อมูลนี้ในงานวิจัย Evaluation of the BNT162b2 Covid-19 Vaccine in Children 5 to 11 Years of Age เมื่ออ่านประสิทธิภาพของยา ตรงหัวข้อ phase 2-3 efficacy ตามรูป 7


จะเห็นว่าในกลุ่มได้รับยาเป็นโควิดแบบมีอาการ 3 ราย ในกลุ่มยาหลอก มีอาการ 16 ราย หรือ ในกลุ่มยาไฟเซอร์ติดโควิดแล้วมีอาการคิดเป็น 3/1518 (0.2%) เทียบกับ 16/750 (2%) จะได้ค่า ARR เพียง 1.8% ที่สำคัญ ไม่มีเด็กรายไหนที่มีอาการรุนแรง ไม่มีเด็กที่มีอาการ MIS-C ไม่มีเด็กที่เสียชีวิต จากงานวิจัยนี้ จึงสรุปได้เพียงว่า การฉีดยาไฟเซอร์สามารถลดอาการหวัดลงได้ 1.8% โดยไม่สามารถระบุได้ว่า ยาตัวนี้ป้องกันการติดเชื้อ ได้ อนึ่งมีความพยายามที่จะใช้ข้อมูลระดับ แอนตี้บอดี้มาอ้าง ทั้งที่ระดับแอนตี้บอดี้ที่สูงไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะป้องกันการติดเชื้อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเชื้อกลายพันธุ์

๓.ยาฉีดไฟเซอร์ไม่สามารถป้องกันการป่วยหนักไม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้

อย่างที่แสดงให้เห็นในหัวข้อก่อนหน้าว่างานวิจัยที่ บริษัทยานำมาใช้อ้างอิงนั้น ไม่พบความแตกต่างในอัตราการเกิดโรครุนแรง อัตราการเสียชีวิต ระหว่างกลุ่มที่ได้ยาฉีดไฟเซอร์ กับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถอ้างได้ว่า ยาฉีดนี้สามารถป้องกันการป่วยหนัก การเสียชีวิตในเด็กกลุ่มนี้ได้ ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า อัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตในเด็กกลุ่มนี้ต่ำมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปกติที่แข็งแรงดี การฉีดยาที่อยู่ระหว่างการทดลองในเด็กกลุ่มนี้จึงไม่มีความจำเป็นเลย

๔.ยาฉีดไฟเซอร์ไม่สามารถป้องกัน MIS-C ได้

MIS-C multisystem inflammatory syndrome-children หรือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบอวัยวะในเด็ก เป็นสิ่งที่พบได้ในเด็กที่ติดโควิด อยางไรก็ดีภาวะนี้พบได้น้อยมาก ประมาณ 1 ในเด็กที่เป็นโควิด 200,000 ราย และสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามมีความพยายามที่จะนำภาวะนี้มาสร้างความตื่นตระหนกในผู้ปกครอง และให้ข้อมูลที่บิดเบือนว่า ยาฉีดไฟเซอร์สามารถป้องกันการเกิดภาวะนี้ได้ ตามรายละเอียดที่ระบุในข้อ ๒ จะเห็นว่า ไม่พบภาวะนี้ ทั้งในกลุ่มที่ได้ยาฉีดไฟเซอร์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ซึ่งทำให้บริษัทยา ไม่สามารถอ้างได้ว่า ยานี้สามารถป้องกันภาวะ MIS-C ได้ แต่ที่น่าสนใจคือ มีรายงานที่พบว่า ยาฉีดไฟเซอร์ ทำให้เกิดภาวะ MIS ได้ทั้งในเด็ก (MIS-C) และผู้ใหญ่ (MIS-A)’

6 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p....mc/articles/PMC86531

7 https://wwwnc.cdc.gov/eid/arti....cle/27/11/21-1612_ar

8 https://casereports.bmj.com/co....ntent/14/7/e243888.l


ที่น่าสนใจคือ มีการศึกษาในเด็กที่มีภาวะ MIS-C พบว่ามีระดับแอนตี้บอดี้ IgG ในระดับที่สูงกว่าเด็กที่ไม่มีอาการ MIS-C ซึ่งช่วยสนับสนุนว่า ภาวะนี้อาจเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันผิดปกติที่มีมากเกินไปจนทำให้เกิดภาวะอักเสบทั่วร่างกาย โดยในการรักษาภาวะดังกล่าวมีการนำยากดภูมิ อาทิ สเตียรอยด์มาใช้ในการรักษาด้วย ยิ่งเป็นการยืนยันว่าภาวะนี้ มีภูมิคุ้มกันที่ “สูง” มากผิดปกติ จากข้อมูลในงานวิจัยของบริษัทที่ระบุว่า ยาฉีดไฟเซอร์ กระตุ้นให้ระดับภูมิคุ้มกันชนิด IgG สูงขึ้นจึงอาจเป็นเหตุให้ยาฉีดนี้ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่า ยาฉีดที่ยังอยู่ระหว่างการทดลองนี้สามารถลดอัตราการเกิดภาวะ MIS-C ในเด็กได้

9 https://publications.aap.org/p....ediatrics/article/14

ถูกใจ
ความคิดเห็น
แชร์
Suphachai Kwansuwan profile picture
Suphachai Kwansuwan
51 สัปดาห์

David Icke | โครงสร้างการควบคุมรัฐบาลทั่วโลก

David Icke | โครงสร้างการควบคุมรัฐบาลทั่วโลก | Stop Thai Control
stopthaicontrol.com

David Icke | โครงสร้างการควบคุมรัฐบาลทั่วโลก | Stop Thai Control

ถูกใจ
ความคิดเห็น
แชร์
Suphachai Kwansuwan profile picture
Suphachai Kwansuwan
51 สัปดาห์

#วัคซีน #ไวรัส #โควิด-19
ADE ที่เกิดจากวัคซีน คืออะไร?​ (สำคัญ)
20 ปี แล้วที่บริษัทวัคซีนล้มเหลวกับการผลิตวัคซีน
ตั้งแต่ปี 2002 ที่โรคซาร์สระบาด บริษัทวัคซีนได้พยายามพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโคโรนาไวรัส แต่ไม่เคยสำเร็จเรื่องจากปรากฏการณ์ทางชีวภาพ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า (ADE หรือ antibody-dependent enhancement) คุณสามารถอ่านเรื่องนี้อย่างละเอียดได้ที่ ความลับของวัคซีน ฉบับที่ 2

ทุกครั้งที่พวกเขาพยายามผลิตวัคซีนสำหรับโรคซาร์ส เมอร์ส และ RSV พวกเขาเจอปัญหาเดิมๆ ซึ่งก็คือ ในช่วงแรกผลดูดีมาก แอนตี่บอดี่เพื่มขึ้น แต่หากผู้ฉีดโดนไวรัสเข้าไป เขาจะมีอาการหนักกว่าผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน ซึ่งกว่าจะเห็นปรากฏการณ์ทางชีวภาพนี้ อาจใช้เวลาได้สูงถึง 16 เดือน ตามคำเตือนของ Dr. Judy Mikovitz, Professor Dolores Cahil และ Dr. Sherri Tenpenny ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน แม้แต่ Dr. Michael Yeadon ท่านเป็นอดิตรองประธาน และ หัวหน้านักวิทยาศาสต์ ของบริษัทไฟเซอร์ เองก็ออกมาเตือนผู้คนไม่ให้รับวัคซีนนี้

ADE (Antibody Dependent Enchancement) และ Cytokine Storm (พายุไซโตไคน์) คืออะไร?​
การเร่งโดยแอนติบอดี (ADE – Antibody Dependent Enchancement) คือภาวะที่เพิ่มความไวต่อไวรัสโดยแอนติบอดี นั้นหมายความว่าผู้คนที่ฉีดวัคซีนเมื่อโดนไวรัสจะมีอาการรุนแรงมากกว่าการไม่ฉีดวัคซีนด้วยภาวะ พายุไซโตไคน์ วัคซีนที่ใช้แอนติบอดีป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ถูกเร่งการพัฒนาและรีบออกมาฉีดผู้คนและข้ามกระบวนการ การทดสอบว่า ADE จะเกิดขึ้นหรือไม่ แม้ข้อมูลจากการศึกษา SARS-CoV และไวรัสระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่าแอนติบอดีต้าน SARS-CoV-2 อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ เพราะภาวะ การเร่งโดยแอนติบอดี (ADE) การศึกษาวัคซีนเกี่ยวกับไวรัสโรคซาร์ส เมอร์ส และ ไวรัสไข้เลือดออกครั้งก่อนเผยให้เห็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางคลินิกของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับ ADE ส่งผลให้การทดลองวัคซีนล้มเหลว

กลไกของ ADE
ADE เกิดขึ้นผ่านกลไกที่แตกต่างกันสองแบบ ในกลไก ADE แบบที่สองที่สามารถส่งเสริมและกระตุ้นภูมิคุ้มกันผิดปกติ แม้จะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์และเศษซากที่ติดไวรัส แต่สิ่งที่อาจตามมาด้วยคือ… พายุไซโตไคน์

Cytokine Storm (พายุไซโตไคน์) คืออะไร?​
พายุไซโตไคน์คือเหตุการที่ ไซโตไคน์ในกระแส่เลือดมีมากเกินไปกระทั่งเริ่มโจมตีตัวเราเอง

เวลาที่ร่างกายคนเราติดเชื้อต่างๆ ร่างกายของเราจะกำจัดมัน หนึ่งในกระบวนวิธีของภูมิคุ้มกันคือการฆ่าเชื้อ

เมื่อเราติดเชื่อ แมคโครฟาจ ประเภท 1 (Macrophage Type I) ในเลือดของเราจะเริ่มทำงาน ซึ่งหน้าที่ของมันคือการผลิต ไซโตไคน์ (Cytokine) สิ่งที่ ไซโตไคน์ ทำคือมันจะเริ่มต่อสู้กับไวรัสที่เข้ามาในร่างกายของเรา​ และมันก็จะฆ่าสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าเชื้อโรคจะตายหมด

เมื่อเชื้อโรคตาย แมคโครฟาจ ประเภท 2 (Macrophages Type II) จะเริ่มทำงาน แมคโครฟาจ ประเภท 2 (Macrophages Type II) เปรียบเสมือนนักดับเพลิง มันจะมาสั่งให้ Cytokine หยุดการฆ่าและเริ่มบำบัดให้ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติหลังจากที่มีการสู้รบอย่างดุเดือดของ ไซโตไคน์ (Cytokine)

คุณสามารถเปรียบเถียบ
แมคโครฟาจ ประเภท 1 (Macrophage Type I) เป็นปุ่ม เปิด การโจมตี ของ ไซโตไคน์
แมคโครฟาจ ประเภท 2 (Macrophage Type II) เป็นปุ่ม ปิด การโจมตี ของ ไซโตไคน์
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ที่ฉีดวัคซีนโคโรน่าไวรัสคือ ตัวแอนตี่บอดี้ที่วัคซีนผลิตเพิ่อป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสนั้น มันไปฆ่า แมคโครฟาจ ประเภท 2 (Macrophage Type II) เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งที่ตามมาคือ คราวต่อไปที่คุณติดเชื้อไวรัส แมคโครฟาจ ประเภท 1 (Macrophage Type I) จะสั่งการให้ ไซโตไคน์ (Cytokine) ออกมาสู้รบ แต่เมื่อเชื่อโรคตายหมด ไม่มีใครไปหยุด ไซโตไคน์ (Cytokine) ที่กำลังฆ่าอย่างบ้าคลั้ง เพราะ แอนดี้บอดี่จากวัคซีน ฆ่า แมคโครฟาจ ประเภท 2 (Macrophages Type II) ไปแล้ว

ไซโตไคน์ (Cytokine) จึงทำงานต่อไปเรื่อยๆ และเริ่มโจมที่เซลล์ในร่างกายของเราเอง ในเส้นเลือดจะเริ่มมีการเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดลิมเลือดจนกระทั่ง เส้นเลือดจะเกิดการอุดตัน ด้วยความคลั้งของ ของ ไซโตไคน์ อย่างต่อเนื่อง สุดท้ายแล้ว การอุดตัดทำให้เลือดไปไม่ถึงอวัยวะอื่นๆ อวัยวะเริ่มล้มเหลวและเสียชีวิต

image
ถูกใจ
ความคิดเห็น
แชร์
Suphachai Kwansuwan profile picture
Suphachai Kwansuwan เปลี่ยนรูปโปรไฟล์
51 สัปดาห์

image
ถูกใจ
ความคิดเห็น
แชร์
 โหลดโพสต์เพิ่มเติม
    ข้อมูล
  • 4 โพสต์

  • ชาย
  • 06/13/86
  • อาศัยอยู่ใน Thailand
    อัลบั้ม 
    (0)
    กำลังติดตาม 
    (0)
    ผู้ติดตาม 
    (2)
  • นายสุบรรณ ต้นไฝ่
    Apichart Kanjanapongsawet
    ถูกใจ 
    (0)
    กลุ่ม 
    (0)

© 2023 Rookon Powered by Yow

ภาษา

  • เกี่ยวกับ
  • บทความ
  • ติดต่อเรา
  • นักพัฒนา
  • เพิ่ม
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    • ชมข้อมูล ไม่ลงทะเบียน

เลิกเป็นเพื่อน

คุณแน่ใจหรือว่าต้องการเลิกเป็นเพื่อน

รายงานผู้ใช้รายนี้

สำคัญ!

คุณแน่ใจหรือไม่ว่าต้องการลบสมาชิกรายนี้ออกจากครอบครัวของคุณ?

คุณได้สะกิด Momentum

สมาชิกใหม่ถูกเพิ่มในรายชื่อครอบครัวของคุณเรียบร้อยแล้ว!

ครอบตัดอวาตาร์ของคุณ

avatar

© 2023 Rookon Powered by Yow

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อเรา
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ชมข้อมูล ไม่ลงทะเบียน
  • บทความ
  • นักพัฒนา
  • ภาษา

© 2023 Rookon Powered by Yow

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อเรา
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ชมข้อมูล ไม่ลงทะเบียน
  • บทความ
  • นักพัฒนา
  • ภาษา

รายงานความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว

เพิ่มโพสต์ในไทม์ไลน์ของคุณสำเร็จแล้ว!

คุณมีเพื่อนถึงขีดจำกัด 5000 คนแล้ว!

ข้อผิดพลาดของขนาดไฟล์: ไฟล์เกินขีดจำกัดที่อนุญาต (5 GB) และไม่สามารถอัปโหลดได้

กำลังประมวลผลวิดีโอของคุณ เราจะแจ้งให้คุณทราบเมื่อพร้อมที่จะดู

ไม่สามารถอัปโหลดไฟล์: ไม่รองรับไฟล์ประเภทนี้

เราตรวจพบเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่บางส่วนในภาพที่คุณอัปโหลด ดังนั้นเราจึงปฏิเสธขั้นตอนการอัปโหลดของคุณ

แชร์โพสต์ในกลุ่ม

แชร์ลงเพจ

แบ่งปันให้ผู้ใช้

ส่งโพสต์ของคุณแล้ว เราจะตรวจสอบเนื้อหาของคุณในไม่ช้า

หากต้องการอัปโหลดรูปภาพ วิดีโอ และไฟล์เสียง คุณต้องอัปเกรดเป็นสมาชิกระดับโปร อัปเกรดเป็น Pro

แก้ไขข้อเสนอ

0%

Add tier








เลือกรูปภาพ
Delete your tier
Are you sure you want to delete this tier?

รีวิว

Pay By Wallet

Delete your address

Are you sure you want to delete this address?

Payment Alert

You are about to purchase the items, do you want to proceed?
Request a Refund

ภาษา

  • Bengali
  • Chinese
  • Croatian
  • Danish
  • English
  • Filipino
  • Hebrew
  • Hindi
  • Indonesian
  • Japanese
  • Korean
  • Persian
  • Swedish
  • Thai
  • Urdu
  • Vietnamese